รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะ กสิภาร์
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะ กสิภาร์
พ.ศ.2532-2538
ประวัติส่วนตัว
วัน/เดือน/ปีเกิด | วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
ประวัติการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น | โรงเรียนโนนสูงศรีธานี จังหวัดนครราชสีมา |
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสอบได้ทุนคุรุสภากระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ ณ ประเทศอังกฤษ Purdue Uni. สหรัฐอเมริกา | |
พ.ศ.2505 |
- B.Sc. (Hons.) in Mechanical Engineering, University of London - D.I.C (Diploma if Imperial college) in Applied Mechanices from Imperial College of Science and Technology, University of London Purdue Uni. สหรัฐอเมริกา |
|
พ.ศ.2523 | ประกาศนียบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | |
พ.ศ.2527 |
Ph.D.(Vocational Didactic) University of Kassel, Germany |
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2508 | รับราชการครูโทหัวหน้าฝ่ายผลิตและบำรุงวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2511 | หัวหน้าฝ่ายวิชาการวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2512 | อาจารย์เอกวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2517 | คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2520 | รองศาสตราจารย์ระดับ ๗ | |
พ.ศ. 2526 | ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2528 | ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา | |
พ.ศ. 2512-2538 | อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
ตำแหน่งภายหลังเกษียณราชการ
พ.ศ. 2546 |
กรรมการสภาการศึกษา(ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชีวศึกษา)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ | |
พ.ศ. 2548-2549 |
ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) |
|
พ.ศ. 2550-2552 |
ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษาคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2533 | เหรียญจักรพรรดิมาลา | |
๕ ธันวาคม 2533 | มหาวชิรมงกุฎ | |
๕ ธันวาคม 2536 | มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก |
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์
๏ การอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม
๏ การอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๏ การพัฒนาครูและผู้บริหารอาชีวศึกษา
๏ การประกันคุณภาพการศึกษา
๏ ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา
๏ การออกแบบโครงการ วางแผนโครงการ และประเมินผลโครงการ
๏ การพัฒนาหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๏ การพัฒนาผู้ประกอบการอาชีพอิสระ
๏ การวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษา โดยเฉพาะด้านอาชีวศึกษา
๏ วิธีการพัฒนามาตรฐานอาชีพ/มาตรฐานสมรรถนะ
๏ สอนและเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอก ด้านอาชีวศึกษา
งานสนับสนุนการพัฒนาวิชาการ
๏ ประธานคณะอนุกรรมการนโยบายและมาตรฐานอาชีวศึกษา และฝึกอบรมอาชีพ
๏ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
๏ ประธานคณะกรรมการอาชีวศึกษาแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๏ ประธาน อ.ก.ค วิสามัญเฉพาะกิจประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ศึกษานิเทศก์ 7
และศึกษานิเทศก์ 8 สาขาเครื่องยนต์ เครื่องกล
๏ ประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
๏ รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรสาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยี
๏ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการศึกษาและอาชีพ(กรอ.พอ.)
๏ คณะกรรมการมาตรฐานการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๏ การส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
๏ วิธีการพัฒนามาตรฐานอาชีพ/มาตรฐานสมรรถนะ
๏ กรรมการที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการ โรงเรียน-โรงงาน
๏ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพระบบทวิภาคีระดับชาติ
๏ คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานแรงงาน
๏ คณะอนุกรรมการการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์
และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ผลงานวิชาชีพ
๏ วิจัยด้านปฏิรูปการอาชีวศึกษาไทยให้กับธนาคารโลก
๏ วิจัยยุทธศาสตร์การอาชีวศึกษาของประเทศต่าง ๆ และขององค์กรนานาชาติ
๏ วิจัยระบบ Apprenticeship ของประเทศต่างๆ
๏ ตำรา Module การวิจัยสำหรับการอาชีวศึกษา(เป็นภาษาอังกฤษ)
๏ ตำราความแข็งแรงวัสดุ หน่วย SI เล่มแรกของประเทศไทย(ปัจจุบันยังจัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง)
๏ เอกสาร “คู่มือการประเมินคุณภาพด้านการอาชีวศึกษา” ของ Adult Learning Inspectorate(ALI) ประเทศอังกฤษ
๏ เรียบเรียงตำรา Curriculum Development Strategy in Vocational and Technical Education (พ.ศ. 2549)
๏ เรียบเรียงตำรา “หลักการของนวัตกรรม และนวัตกรรมด้านอาชีวศึกษาและฝึกอบรม”(พ.ศ. 2549)
๏ เสนอบทความ “ประสบการณ์ทวิภาคีของประเทศไทย” ในการประชุม The General Department of Vocational Training (GVDT) of Ministry of
Labor, Invalids and Social Affairs (MOLISA) ประเทศเวียดนามสนับสนุนโดย In Went capacity building international Germany
การบริหารจัดการความเป็นผู้นำ
๏ ผู้บุกเบิกคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย
๏ ผู้บุกเบิกสถาบันทางด้านครุศาสตร์และเทคโนโลยี
๏ ริเริ่มโครงการสมทบพิเศษรับนักศึกษาเข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเพื่อผลิตครูช่างอุตสาหกรรมในสาขาวิศวกรรมด้านต่าง ๆ
๏ เป็นครู ของครูช่างอุตสาหกรรม และสร้างครูช่าง ครูอาชีวศึกษาทั้ง 3 ระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
๏ ผู้นำในการปฏิรูปการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา เพื่อการผลิตกำลังคนที่มีทักษะในระดับกึ่งฝีมือและระดับผู้ชำนาญเฉพาะทาง ให้มีลักษณะนิสัย
รักการทำงาน มีความรักอาชีพ มีความรู้ความชำนาญในอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนและสอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาดแรงงานรวมถึงความต้องการทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
๏ ผู้นำเอาระบบทวิภาคีจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเข้ามาพัฒนาในไทย
๏ ริเริ่มโครงการนำร่องร่วมกับประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อศึกษาและพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพ(TVQ) และจัดการเรียนการสอนแบบสมรรถนะ
๏ สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนา การพัฒนาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษากับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่การมีโปรแกรมการฝึกงานทาง
ด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออาชีพอื่นที่เป็นวิธีการให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับโลกของการทำงานจริง
๏ ประธานกรรมการดำเนินงานจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๏ จัดสร้างสิ่งมงคลสักการะเหรียญพระแก้วมรกตเครื่องทรง 3 ฤดู เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้บูชาสักการะและนำเงินรายได้สมทบทุนสร้าง
พระบรมราชานุสาวรีย์/สร้างศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติในสถาบัน
๏ ริเริ่ม ความร่วมมือทางวิชาการภายในประเทศ สถาบันของรัฐ กรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(สช.) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานส่วนภาคเอกชนร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรม สมาคมสถาบันอุดมศึกษาฯลฯ
ด้านบริหาร
๏ วางแผนงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์อาคารกลุ่มวิชาสาขาโยธาอาคารกิจกรรมนักศึกษาอาคารคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์อาคาร
ศูนย์วัฒนธรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส
๏ ปรับปรุงระบบบริหาร ด้านการวางแผนการเงินการพัสดุจัดซื้อโดยการกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบไปยังหน่วยงานระดับคณะ
๏ ติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานระดับคณะทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยมีสำนักคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง
ด้านความสามารถด้านต่างประเทศ
๏ มุ่งเน้นที่จะนำพาสถาบันไปสู่สากล
๏ เป็นที่ปรึกษาและวิทยากรพิเศษ
๏ Colombo plan stop Staff Technician Education (CPSC)
South East Asia Ministry Of Education Organization (SEAMEO)
โครงการ German Agency for Technical Cooperation (GTZ)
โครงการ International Vocational Education and Training Association (IVETA)
๏ ที่ปรึกษาธนาคารโลกด้าน Technical Education and Project Management Specialist
๏ ผู้ริเริ่มโครง ความร่วมมือกับรัฐ รัฐบาลสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในการพัฒนา
ครูช่างผู้บริหารการ อาชีวศึกษาพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
๏ ร่วมมือกับรัฐบาลฝรั่งเศสจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย–ฝรั่งเศส
๏ เริ่มโครงการนำร่องร่วมกับประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อการศึกษาและพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพและการจัดการเรียนการสอนแบบฐานสมรรถนะ
๏ ดำเนินการสืบเนื่องโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติเพื่อการฝึกงานด้านเทคนิคศึกษา(IAESTE) อีกครั้งหลังจากที่เคยมีมาก่อน
แต่ได้หยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง
ภารกิจและตำแหน่งงานพิเศษ
พ.ศ. 2540 | Vice President บริษัท Imperial Technology Management Services(public)Co.,Ltd. |
พ.ศ. 2540 | คณะกรรมการประจำเทคโนธานีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
พ.ศ. 2541 | กรรมการสภา Asian University |
พ.ศ. 2541 | ที่ปรึกษาสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
พ.ศ. 2543 | ประธาน Thai-UK ET Working Group โดยกระทรวงศึกษาธิการและ British Council |
พ.ศ. 2544 |
กรรมการอำนวยการ Thai-French Continuing Vocational Education Project โดยกระทรวงศึกษาธิการและสถานทูตฝรั่งเศส |
พ.ศ. 2545 | คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี+สุรนารี |
พ.ศ. 2546 | รองประธานคณะกรรมการบริหารการศึกษามูลนิธิพระดาบส |
สิงหาคม พ.ศ. 2546 | กรรมการสภาการศึกษา(ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชีวศึกษา)สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา |
มิถุนายน พ.ศ. 2547 | กรรมการสภามหาวิทยาลัยสยาม |
ธันวาคม พ.ศ. 2547 | กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม |
พ.ศ. 2548 | คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา |
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | คณะกรรมการวางแผน จัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอนกระทรวงศึกษาธิการ |
มีนาคม พ.ศ. 2549 | นายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม |
พฤษภาคม พ.ศ. 2549 | อุปนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน |
กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | กรรมการสภามหาวิทยาลัยนครพนม |
พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 |
คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านส่งเสริมจัดการศึกษาตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา |
ธันวาคม พ.ศ. 2549 | คณะกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทยกระทรวงศึกษาธิการ |
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) |
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการช่าง มูลนิธิพระดาบส |
พ.ศ. 2550 |
คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการวางแผนจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคน ตามความต้องการของประเทศสำนักงานเลขา สภาการศึกษา |
พ.ศ. 2550 | ผู้ทรงคุณวุฒิในสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
งานพิเศษในอดีต
พ.ศ. 2538-2550 | กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยสำนักนายกรัฐมนตรี |
พ.ศ. 2540-2545 |
Technical Education and Project Management Specialistของธนาคารโลกสำหรับโครงการ Technical Education Projectโครงการกู้เงินของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลโดย The World Bank |
พ.ศ. 2540-2549 | นายกสมาคมครุศาสตร์อุตสาหกรรม |
พ.ศ. 2542-2543 |
ที่ปรึกษาธนาคารโลกในโครงการ Secondary and Vocational Education in Thailand:Moving Towards 12 Years for allโดย The World Bank |
กุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2543 | Project Progress Review:Small-Scale Industry Promotion Project โดยกระทรวงอุตสาหกรรม |
พ.ศ. 2543-2547 | กรรมการบริหารสำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) |
พ.ศ. 2544-2545 | ที่ปรึกษา OECF Loan Project โดยกรมอาชีวศึกษา |
พ.ศ. 2544-2548 | สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
มกราคม พ.ศ. 2545 | Final Project Progress Review:Dual Vocational Training โดยกรมอาชีวศึกษา |
พ.ศ. 2545-2546 | กรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา |
พ.ศ. 2545-2546 | กรรมการสภาสถาบันราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2545-2546 | ประธานคณะกรรมการการ วางแผนการผลิตครูและพัฒนามาตรฐานอาชีพครูอาชีวศึกษา โดยกรมอาชีวศึกษา |
พ.ศ. 2546 | คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานแรงงานโดยกระทรวงแรงงาน |
พ.ศ. 2546 |
ประธานคณะทำงานเพื่อการศึกษาและจัด ทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมโดยสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา |
พ.ศ. 2547 | คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาโดยรัฐสภา |
พ.ศ. 2548-2549 |
ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) |
รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
พ.ศ. 2538 | Chevalier des Palmes Academiques มอบโดยประเทศฝรั่งเศส | |
พ.ศ. 2538 | โล่สมาคมอุตสาหกรรมของฝรั่งเศส มอบโดยสภาอุตสาหกรรมฝรั่งเศส | |
พ.ศ. 2549 |
เข็มทองคำเชิดชูเกียรติและโล่ประกาศเกียรติคุณ“ครูดีศรีสถาบัน”ในโครงการเชิดชูคนดีศรีแผ่นดิน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมงกุฎนฤบดีประจำปี พ.ศ. 2548 มอบโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
พ.ศ. 2552 |
โล่เกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย มอบโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |