ประวัติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. 2502
19 กุมภาพันธ์ 2502 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ สังกัดกรมอาชีวศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตช่างฝีมือที่เน้นการปฏิบัติ และประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย-เยอรมัน” ต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันฉบับแรกในวันที่ 16 มีนาคม 2502
พ.ศ. 2507
1 ตุลาคม 2507 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือขึ้นเป็น “วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ”
พ.ศ. 2514
ได้รับพระราชทานนามว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" 23เมษายน2514มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ให้รวมวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกรมอาชีวศึกษาเข้าด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง และได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า” ให้เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษา ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการและส่งเสริมทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และครุศาสตร์อุตสาหกรรม รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3วิทยาเขต วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ”
พ.ศ. 2517
28 มิถุนายน 2517 มีประกาศแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นส่วนราชการในสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย 5 พฤศจิกายน 2517 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการในสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ และจัดตั้งคณะ 2 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2524
8 พฤษภาคม 2524 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2529
19 กุมภาพันธ์ 2529 มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2528 โดยให้แยกสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า ออกเป็นสถานศึกษา 3 แห่งเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานของแต่ละสถาบัน วิทยาเขตพระนครเหนือ ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตบุคลากรทำ หน้าที่เป็นช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี วิศวกร ครูช่าง และผู้บริหารใน สถาบันการศึกษา ธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนในการ พัฒนาประเทศ 21 พฤษภาคม 2529 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
พ.ศ. 2531
14 พฤษภาคม 2531 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ ดังนี้ 1) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (เปลี่ยนชื่อจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์) 2) คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (จัดตั้งใหม่โดยยกฐานะภาควิชาวิทยาศาสตร์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์) 3) สำนักงานอธิการบดี (เปลี่ยนจากสำนักงานรองอธิการบดีวิทยาเขตพระนครเหนือ) 4) สำนักหอสมุดกลาง (ยกฐานะจากงานห้องสมุด กองบริการการศึกษา)
พ.ศ. 2534
22 กรกฎาคม 2534 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม
พ.ศ. 2536
22 มกราคม 2536 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส เป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2538
สถาบันได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคที่จังหวัดปราจีนบุรี ในนาม "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี"ตั้งอยู่ที่ตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มีคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้นที่ สจพ. ปราจีนบุรี
พ.ศ. 2539
6 สิงหาคม 2539 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม และสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2544
2 กรกฎาคม 2544 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2545
12 มิถุนายน 2545 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2546
12 กุมภาพันธ์ 2546 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง คณะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2548
16 มีนาคม 2548 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ สิรินธร ไทย-เยอรมัน เป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2550
21 พฤศจิกายน 2550 สภาสถาบันอนุมัติยกฐานะศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานระดับคณะ 27 ธันวาคม 2550 มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ พ.ศ. 2550 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปลี่ยนสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการ บริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการจัดการศึกษาระดับศึกษาจะ คำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ
พ.ศ. 2553
10 กุมภาพันธ์ 2553 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมและการ ออกแบบ เป็นหน่วยงานระดับคณะ 4 สิงหาคม2553สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 4/2553 เห็นชอบในหลักการที่มหาวิทยาลัยจะขยายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปยังภูมิภาคตะวันออกจังหวัดระยองในนาม "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง" ณ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
พ.ศ. 2556
13 มีนาคม 2556 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทยเยอรมัน เป็นหน่วยงานระดับคณะ 16ตุลาคม2556สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยองได้แก่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานระดับคณะ 2คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานระดับคณะ3คณะบริหารธุรกิจ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2557
23 เมษายน 2557 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติเป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2558
6 พฤษภาคม 2558 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งคณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานระดับคณะ 24 มิถุนายน2558สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการเป็นหน่วยงานระดับคณะ
พ.ศ. 2563
22 มกราคม 2563 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งและเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน ดังนี้ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานอธิการบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนชื่อเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ดิจิทัล ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ