รองศาสตราจารย์ ดร.สมชอบ ไชยเวช

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชอบ ไชยเวช

พ.ศ.2529-2532

 
 
 
 
 
 

ประวัติส่วนตัว

วัน/เดือน/ปีเกิด วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2479
 
 
 
 
 
 

ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2528   วิทยาลัยป้องกันอาณาจักร รุ่น ๒๘
พ.ศ.2505-2508              ปริญญาเอก วิศวกรรมเครื่องกล Purdue Uni. สหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2503-2505
  ปริญญาโทวิศวกรรมเครื่องกล Purdue Uni. สหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2500-2503
  ปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล Purdue Uni. สหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2499   University of Detroit , สหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2498
 
  นักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2498   คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2496-2498   ร.ร เตรียมอุดมศึกษา
พ.ศ.2490-2496   ร.ร อำนวยศิลป์ พระนคร
 
 
 
 
 
 
 

ประวัติการทำงาน

 
พ.ศ. 2539   ข้าราชการบำนาญในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิทยาศาสตร์ สจพ.
พ.ศ. 2529-2532   อธิการบดี ส.จ.พ.
พ.ศ. 2522-2529   รองอธิการบดี บริหารงาน ส.จ.พ.
พ.ศ. 2514-2522   คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ส.จ.พ.
พ.ศ. 2509-2514   คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ส.จ.พ.
พ.ศ. 2508-2509   รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ
 
 
 
 
 
 
 

หน้าที่พิเศษ อื่นๆ/ตำแหน่งภายหลังเกษียณราชการ

 

   ๏ ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI)
   ๏ กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI)
   ๏ กรรมการทบวงมหาวิทยาลัย
   ๏ กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
   ๏ กรรมการสถาบันไทย-เยอรมัน ในการกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม
   ๏ นายกสภามหาวิทยาลัย นอร์ทกรุงเทพ
   ๏ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยราชภัฏ มงคลธัญบุรี
   ๏ ที่ปรึกษากองทุนโครงการ Joint Venture Fund เพื่อพัฒนาธุรกิจ SME
   ๏ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมวิจัย
   ๏ กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 
 
 
 
 
 
 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

 
5 ธันวาคม 2514 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
5 ธันวาคม 2517 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
5 ธันวาคม 2520 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
5 ธันวาคม 2524 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
5 ธันวาคม 2527 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
5 ธันวาคม 2530 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
5 ธันวาคม 2533 มหาวชิรมงกุฎ
5 ธันวาคม 2533 เหรียญจักรพรรดิมาลา
5 ธันวาคม 2538 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
 
 
 
 
 
 
 

งานสอน/งานสนับสนุนการพัฒนาวิชาการ

 

   ๏ สอนวิชาด้าน Applied Heat ในวิศวกรรมเครื่องกลอย่างต่อเนื่องแม้หลังเกษียณราชการ
   ๏ สนับสนุนงานวิชาการในหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกโดยการทำหน้าที่กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมวิจัย
    และกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
   ๏ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านงานวิจัย

 
 
 
 
 
 
 

งานวิชาการ

 

   ๏ การศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่แลนด์บริดจ์ใน 5 จังหวัด ภาคใต้ พ.ศ.2547
   ๏ “โครงการศึกษา บทบาทของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนา S&T” พ.ศ.2550
   ๏ การประเมินผลการอาชีวนักศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 (2535-2539)
   ๏ การประเมินผลโครงการความช่วยเหลือทางเทคนิคของ JICA กรมวิเทศสหการ 2536
   ๏ โครงการวิจัยพัฒนา“การออกแบบและสร้างอุปกรณ์เปลี่ยนทูและทูลแมกกาซีนสำหรับเครื่องกัดและขวานCNC” NSTDA 2538
   ๏ โครงการศึกษา “แนวความคิดใหม่ในการพัฒนากำลังคนทางเทคนิค” STDB 2534

 
 
 
 
 
 
 

ผลงานวิชาชีพ

 

   ๏ วุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วก.419
   ๏ ออกแบบและ/หรือ ควบคุมงานติดตั้งงานระบบวิศวกรรม (ระบบปรับอากาศด้วย Chiller ขนาดใหญ่ระบบไอน้ำ ระบบ Medical Pipe Line และอื่นๆ)
    เช่น อาคารรัฐสภา โรงพิมพ์ธนาคารชาติ รพ.ชานพระนคร รพ. ศิริราช อาคาร 72 ปี เป็นต้น
   ๏ รับผิดชอบงานบริการวิศวกรรมของสถาบันฯ ต่ออุตสาหกรรมภายนอก เช่น งานสร้าง Tool&Die ของบริษัท Good Year งานสร้างเครื่องรีดโลหะ
    งาน Pipe Jacking ท่อคอนกรีต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เมตร ระยะทาง 45 เมตร ใต้ดินลึก 18 เมตร สำหรับท่อน้ำดิบประปาที่บางซื่อ ฯลฯ
   ๏ ที่ปรึกษาทางเทคนิคบริษัทไทยอมฤต บริวเวอรี่จำกัด พ.ศ. 2528
   ๏ Project Manager โครงสร้างโรงงานผลิตเบียร์ขนาด 500,000 HL วงเงิน 1,500 ล้านบาท พ.ศ. 2536

 
 
 
 
 
 
 

ด้านผู้นำ/บริหาร

 

   ๏ ได้ร่วมบริหารโครงการความช่วยเหลือของ รัฐบาลเยอรมันในโครงการต่างๆของสถาบันฯตั้งแต่เริ่มรับราชการโดยประสานงานกับกระทรวงพัฒนา
    เศรษฐกิจของเยอรมันและหน่วยงาน GTZ และได้รับผิดชอบเป็นผู้บริหารโครงการพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์โดยฌอง เฉพาะในสาขา
    Production Engineering, Process Engineering และวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขา Drive Control และสาขา High Voltage เพื่อความช่วยเหลือ
    และสนับสนุนของรัฐบาลเยอรมัน
   ๏ นำในการสัมมนาระหว่างชาติ Dual System of Training และนำประธานกรรมาธิการการศึกษาของสภาผู้แทนไทยไปศึกษาดูงานพัฒนาฝีมือช่างและ
    ช่างเทคนิคของเยอรมันโดยการสนับสนุนของ Deutsche Stiftung Für Internationale Entwicklung พ.ศ. 2525
   ๏ เสนอบทความเรื่อง Institutional Evaluation ที่ Combo Plan Staff College ที่สิงคโปร์

 
 
 
 
 
 
 

ความชำนาญพิเศษ

 

   ๏ การบริหารการจัดการศึกษาเทคโนโลยีหรือวิชาชีพที่มีทางเลือกที่สำคัญคือควรเป็น Objective Oriented โดยพิจารณาเป้าหมายจาก
    Demand Side และเน้น WIL(Work Integrate Learning)ในรูปแบบต่างๆ
   ๏ งานพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมทั้ง Product และ Process Industry เพื่อการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย

 
 
 
 
 
 
 

งานพิเศษในประเทศ

 

   ๏ กรรมการในภาคอุตสาหกรรม
   ๏ ประธานบริษัท พัฒน์กล(มหาชน)จำกัด
   ๏ ประธานบริษัท QTC Energy(มหาชน)จำกัด

 
 
 
 
 
 
 

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

 
พ.ศ. 2541
บุคคลดีเด่นของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ PTIT Award: Distinguished ประจำปี พ.ศ.2540
สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มอบโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2549
เข็มทองคำเชิดชูเกียรติและโล่ประกาศเกียรติคุณ “ครูดีศรีสถาบัน” ใน โครงการเชิดชูคนดีศรีแผ่นดิน
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมงกุฎนฤบดีประจำปี พ.ศ. 2548 มอบโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2552
โล่เกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย มอบโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
 
 
 
 
 
 

สมาชิกในสมาคมวิชาชีพ

 

   ๏ สมาชิก พาย เทา ซิกม่า (Honorary Society) วิศวกรรมเครื่องกล

 
 
 
 
 
 
 

ในด้านการจัดการศึกษาวิชาชีพด้านเทคโนโลยี

 

   ๏ การจัดการศึกษาวิชาชีพด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมไม่ใช่เป็นเพียงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แยกออก (Isolated) จากระบบการพัฒนาเศรษฐกิจและ
    รักษาสิ่งแวดล้อมแต่ต้องมองเป็น “การพัฒนากำลังคน” เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติซึ่งหมายความว่าระบบการพัฒนา “กำลังคน” และระบบการ
    พัฒนา“อุตสาหกรรม” ต้องเป็น Interactive System ระหว่างกัน
   ๏ การให้การศึกษาจึงไม่เป็นเพียงการให้ “ความรู้” แต่ต้องให้ทั้ง “ทักษะ” หรือประสบการณ์งานจริงและเพื่อให้เกิด “เจตคติ” คือความรักงานอดทนและ
    มีวินัยในการทำงานที่ดี Work-Integrated Learning แม้รูปแบบต่าง ๆ จึงควรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

 
 
 
 
 
 
 

ในด้านการบริหารทีมทำงาน

 

   ๏ การบริหารคนให้มีความพึงพอใจเห็นไปในทิศทาง เดียวกันทั้งหมดนับเป็นเรื่องที่ยากมาก นอกจากจะต้องกำหนด Mission ขององค์กรให้ชัดเจน
    และต้องพัฒนาคณาจารย์เจ้าหน้าที่ในทิศทางที่ต้องการแล้ว ผู้บริหารต้องไม่แยกพวกต้องให้ความเป็นธรรมและความยุติธรรมเกิดขึ้นในองค์กรต้อง
    ไม่มีผู้ชนะ ผู้แพ้ ผู้ได้ผู้เสีย ถ้าเราปล่อยให้มีก็เท่ากับเรา เล่นเกม Zero Sum คือไม่เกิดความก้าวหน้าขององค์กร