ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา อ่องอารี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา อ่องอารี
พ.ศ.2550-2551
ประวัติส่วนตัว
วัน/เดือน/ปีเกิด | วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2492 |
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2511 |
ปวช. สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ(ไทย-เยอรมัน) | |
พ.ศ.2513 |
ปวส. สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ(ไทย-เยอรมัน) | |
พ.ศ.2519 |
ค.อ.บ. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ | |
พ.ศ.2549 |
ประกาศนียบัตรนักบริหารการอุดมศึกษาระดับสูง สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ | |
พ.ศ.2552 |
ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors,IOD) |
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2516 | ครูตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2526-2529 |
อาจารย์ระดับ 5 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาไฟฟ้าวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตพระนครเหนือ |
|
พ.ศ. 2531 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 6 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาไฟฟ้าวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
พ.ศ. 2533 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 7 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาไฟฟ้าวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
พ.ศ. 2536 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาไฟฟ้าวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
พ.ศ. 2536-2549 | ดำรงตำแหน่งกรรมการสภา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2541-2545 | ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2545-2549 | ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วาระที่ 2 รวม 8 ปี(2 วาระ) | |
ต.ค. 2549-31 มี.ค. 2550 | รักษาการคณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
ต.ค. 2549-ก.ค. 2550 | รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สจพ. | |
พ.ศ. 2550-2551 | อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
ตำแหน่งหลังเกษียณราชการ
พ.ศ. 2551-2552 | ที่ปรึกษาธิการบดีด้านการวางแผนและพัฒนามหาวิทยาลัย | |
พ.ศ. 2552-2553 | รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยี ไทย-ฝรั่งเศส | |
พ.ศ. 2553-2561 | ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
๏ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
๏ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
๏ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย(18 ธันวาคม 2551)
ผลงานสำคัญงานสอน
๏ งานสอบประจำวิชา cooperative Edu.II วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
๏ งานสนับสนุนการพัฒนาวิชาการ
๏ กรรมการวิชาการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2541 - 2551
๏ กรรมการโครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่าง Aachen University สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
๏ ประธานกรรมการร่างหลักสูตรฝึกอบรมวิศวกรและช่างเทคนิคของบริษัทเทเลคอมเอเชียคอร์ปอเรชั่น
๏ ประธานกรรมการโครงการร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี พ.ศ. 2545 -2549
๏ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอำนวยการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาเครื่องกลไฟฟ้าและโยธา พ.ศ. 2548
กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
๏ ประธานกรรมการการวางแผนเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิต 2 หลักสูตรที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนา การอุดมศึกษาฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
๏ ประธานกรรมการสร้างหลักสูตรสาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุมและหลักสูตรสาขาวิชาช่างคอมพิวเตอร์ระดับประกาศศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ ประธานกรรมการปรับปรุงหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. เตรียมวิศวฯ) สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาเครื่องกลและ
สาขาวิชาโยธา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ ประธานกรรมการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาศิลปะบัณฑิตของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ รองประธานกรรมการร่างหลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ระดับปริญญาตรีของ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ รองประธานกรรมการร่างหลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลังระดับปริญญาตรีของ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ รองประธานกรรมการจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีและเทคโนโลยีและการจัดการระดับปริญญาตรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือวิทยาเขตปราจีนบุรี
กรรมการวิชาชีพวิศวกรรม
๏ นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้การบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวทั้งในด้านงบประมาณ การเงิน และการเก็บข้อมูลต่างๆให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๏ ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับต่างๆให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยของคณาจารย์และบุคลากรมากขึ้นการขยายให้ทุนอุดหนุนจากกองทุนวิจัยของ
มหาวิทยาลัยในลักษณะต่างๆเพิ่มวงเงินการให้ทุนอุดหนุนการวิจัยการส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการทั้งภายในและภายนอก
สถาบัน
๏ การจัดการศึกษามหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับตลาดแรงงานโดยมีความร่วมมือทางวิชาการ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๏ ริเริ่มโครงการจัดทำหนังสือทำเนียบอุตสาหกรรมไทยและทำเนียบรายนามศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(วทอ.)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในปี พ.ศ. 2545
๏ ผู้อำนวยการ โครงการนำร่อง “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจขนาดย่อม”กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวง อุตสาหกรรม
ด้านการบริหาร
๏ บริหารงานในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาไฟฟ้าวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ บริหารงานในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม๒วาระ (8ปี) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ กรรมการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2537 - กันยายน พ.ศ. 2549
๏ กรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2537 - 2553
๏ กรรมการจัดตั้ง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
๏ กรรมการจัดตั้ง ศูนย์ วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ กรรมการบริหารสู่วัฒนธรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส โครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
และรัฐบาลฝรั่งเศส
๏ กรรมการบริหาร ศูนย์ เทคโนโลยีพลาสติก(โพลิเมอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ รักษาการคณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือปราจีนบุรี
๏ กรรมการบริหาร ศูนย์ วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
๏ รักษาการคณบดีอุตสาหกรรมเกษตร
๏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส
๏ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(19 ตุลาคม 2553 - 18 ตุลาคม 2557)
ความสามารถด้านต่างประเทศ
๏ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานสากลมุ่งเน้นสู่มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนา
๏ ดำเนินการและลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศได้แก่ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกาโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมมือทางวิชาการด้านการเรียนการสอน
การแลกเปลี่ยนคณาจารย์/เจ้าหน้าที่/นักศึกษา ความร่วมมือในการวิจัย
๏ หัวหน้าโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สจพ. และ University of South Australia พ.ศ. 2547-2553
๏ หัวหน้าโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างวิทยาลัยเทค โนโลยี อุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัย Aalen มหาวิทยาลัย Konstanz
มหาวิทยาลัย Rosenheim มหาวิทยาลัย Esslingen และมหาวิทยาลัย Chemnitz ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี Oklahoma State University
สหรัฐอเมริกาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี INPG (Institute National Polytechnique de Grenoble) ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2553
ความชำนาญพิเศษ
๏ ด้านอิเล็กทรอนิกส์
งานพิเศษในประเทศ
๏ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2549 - 2553
๏ รองประธานคณะกรรมการบริหารโครงการความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกับ
บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์(ประเทศไทย)จำกัด
๏ หัวหน้าโครงการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ของ สจพ. ในจังหวัดพังงา โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโรเซนไฮม์ ในการก่อสร้างโรงเรียน
อนุบาลให้กับชาวอำเภอตะกั่วป่าพังงาที่ถูกภัยพิบัติสึนามิและร่วมระดมเงินทุนและรณรงค์หาเงินก่อสร้าง “โรงเรียนอนุบาลโรเซนไฮม์”
กับมหาวิทยาลัยโรเซนไฮม์ และชาวเมืองโรเซนไฮม์ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท โดยใช้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยโรเซนไฮม์ และวิทยาลัยเทคโนโลยี
อุตมหกรรม สจพ. ร่วมกันสร้างซึ่งก่อสร้างเสร็จ ใช้งานได้และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตร
๏ หัวหน้าโครงการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Esslinge สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
๏ ก่อสร้าง “อาคารอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ”เพื่อใช้เป็น ศูนย์ ฝึกวิชาชีพและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้กับชาวตำบลลันตาใหญ่อำเภอเกาะลันตา
จังหวัดกระบี่ โดยรณรงค์หาเงินก่อสร้างและใช้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สจพ. ร่วมกับ คณาจารย์เป็นผู้ออกแบบและทำ
การก่อสร้างอาคารดังกล่าวและมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๏ ผู้ประสานงานโครงการให้บริการวิชาการแก่ภาคเอกชนและประธานกรรมการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมวิศวกรและช่างเทคนิคให้กับบริษัทเทเลคอม
เอเชียคอร์ปอเรชั่นซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างบริษัทเทเลคอมเอเชียคอร์ปอเรชั่นกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ ผู้ประสานงาน ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันในโครงการจัดตั้ง ศูนย์ระบบอัตโนมัติควบคุมด้วยอุปกรณ์เซ็นเซอร์โดยร่วมมือกับบริษัท
PEPERL+FUCHS ประเทศสหรัพันสาธารณรัฐเยอรมนีและสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๏ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
๏ ประธานคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2551 - 2553
๏ กรรมการคณะกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2552-2553
๏ กรรมการคณะกรรมการตรวจสอบ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2552 - 2553
รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ
พ.ศ. 2546 | เข็มครุฑทองคำข้าราชการพลเรือนดีเด่นของประเทศไทยของ ก.พ. พ.ศ. 2546 | |
พ.ศ. 2548 |
โล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงาน(วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) ที่มีผลการปฏิบัติราชการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2548 |
|
พ.ศ. 2548 |
โล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานดีเด่น(วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านการประหยัดพลังงานประจำปี พ.ศ. 2548 |
|
พ.ศ. 2549 |
เข็มทองคำเชิดชูเกียรติและโล่ประกาศเกียรติคุณ “คนดีศรีสังคม” ในโครงการเชิดชูคนดีศรีแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2549 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมงกุฎนฤบดี มอบโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
พ.ศ. 2549 |
เหรียญเชิดชูเกียรติและใบประกาศเกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยเอสลิงเกน ในฐานะบุคคลที่ริเริ่มโครงการความร่วมมือทางวิชาการและสังคมกับมหาวิทยาลัยเอสลิงเกน (Esslingen University of AppliedSciences)สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจนประสบความสำเร็จตามข้อตกลงทางวิชาการ |
|
พ.ศ. 2552 |
โล่เกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย มอบโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
สมาชิกในสมาคมวิชาชีพ
๏ สมาชิกสมาคมอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย
แนวคิดและหลักการที่ใช้ในการทำงาน
๏ ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานให้เกิดการทำงานที่เป็นทีมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกส่วนงานขององค์กรโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของ
บุคลากรในการที่จะนำเสนอความคิดในการพัฒนางานของมหาวิทยาลัย สนับสนุนการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ
ด้วยความเป็นธรรมบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล