ศาสตราจารย์ ดร.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ
ศาสตราจารย์ ดร.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ
พ.ศ.2521-2526
อธิการบดีท่านแรกของสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประวัติส่วนตัว
วัน/เดือน/ปีเกิด | วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 |
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา | โรงเรียนปทุมวัน | |
มัธยมศึกษา | โรงเรียนวัดสุทธิวราราม | |
เตรียมอุดมศึกษา | โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | |
อุดมศึกษา |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอบได้ทุนเล่าเรียนรัฐบาลไปศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ณ สหรัฐอเมริกา ทุนของกระทรวงศึกษาธิการ | |
ปริญญาตรี |
วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเปอร์คู สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2497 | |
ปริญญาโท |
วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเปอร์คู สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2499 | |
คุณวุฒิเฉพาะ |
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 18 พ.ศ. 2518 | |
ปริญญากิตติมศักดิ์ | วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2524 |
ประวัติการรับราชการ
พ.ศ. 2499 | เริ่มรับราชการ ครูตรีวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ กรมอาชีวศึกษา | |
พ.ศ. 2501 | หัวหน้าแผนกวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ | |
พ.ศ. 2502 | อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ(ไทย-เยอร์มัน) | |
พ.ศ. 2507 | ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2511 | ผู้อำนวยการชั้นพิเศษวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2514 | รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตพระนครเหนือ | |
พ.ศ. 2515 | ศาสตราจารย์ประจำ ระดับ 9 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า | |
พ.ศ. 2520 | ศาสตราจารย์ประจำ ระดับ 10 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า | |
พ.ศ. 2520 | อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า |
การทำงานด้านการศึกษาอื่นๆ
พ.ศ. 2526 | หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญอาชีวศึกษา โครงการ UNDP/ ILO ประเทศเนปาล | |
พ.ศ. 2527 | รองผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญอาวุโส โปรแกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีองค์การยูเนสโก ประจำกรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย | |
พ.ศ. 2536 | ประธานมูลนิธิมงกุฏสภา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2505 | จตุรถาภรณ์กุฏไทย |
พ.ศ. 2508 | หัจตุรถาภรณ์ช้างเผือก |
พ.ศ. 2511 | ตริตาภรณ์ช้างเผือก |
พ.ศ. 2513 | ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย |
พ.ศ. 2516 | ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ |
พ.ศ. 2516 | ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก |
พ.ศ. 2519 | ประถมภรณ์มงกุฏไทย |
พ.ศ. 2522 | ประถมภรณ์ช้างเผือก |
พ.ศ. 2524 | มหาวชิรมงกุฏ |
พ.ศ. 2525 | เหรียญจักรพรรดิมาลา |
พ.ศ. 2536 | มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
พ.ศ. 2524 | Commander’s Cross of the Order of Merit of the Federal Republic of Germany สหพันธ์สาธารณรัฐเยอร์มันนี |
ตำราเรียน และเอกสารประกอบรายวิชา
๏ เครื่องต้นกำลัง 1 เครื่องจักรพลังน้ำและหม้อน้ำ
๏ เครื่องต้นกำลัง 2 เครื่องยนต์
๏ เครื่องต้นกำลัง 3 เครื่องสูบและอัดลม
๏ เครื่องต้นกำลัง 4 มอเตอร์ไฟฟ้า
๏ เครื่องกลผ่อนแรง
๏ เครื่องกลขนถ่าย ระบบถ่ายต่อเนื่อง
๏ งานวัดละเอียด
๏ ช่างเครื่องมือกล
๏ ทฤษฎีงานเครื่องมือกล
๏ งานขึ้นรูปแปรรูปโลหะเบื้องต้น
๏ ไฟฟ้าเบื้องต้น
๏ คณิตศาสตร์ช่างเบื้องต้น
๏ คณิตศาสตร์เครื่องกล
๏ คณิตศาสตร์ช่างไฟฟ้า
๏ คณิตศาสตร์ช่างยนต์
๏ คณิตศาสตร์ช่างอิเล็กทรอนิกส์
๏ คณิตศาสตร์ช่าง ช่างเชื่อม ช่างหล่อ ช่างท่อ ช่างโลหะแผ่น ช่างเหล็กก่อสร้าง
๏ คณิตศาสตร์ประยุกต์คอนโทรล
๏ วิทยาศาสตร์ช่าง
๏ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ช่างตอนต้น ระดับ ม.3
๏ แบบเรียนคณิตศาสตร์ เลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ สถิติ เทคโนโลยี 1
๏ เขียนแบบช่างไฟฟ้าและการวางแผนการทำงาน สำหรับช่างไฟฟ้า / อิเล็กทรอนิกส์ 1
งานวิจัย
๏ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ
๏ การศึกษาเพื่อมีงานทำ
๏ บาทบาทของเอกชนภาคธุรกิจ และสถานประกอบการกับการศึกษา
๏ การปฏิรูปอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพต่างประเทศ : สาธารณรัฐบราซิล
๏ การปฏิรูปอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
๏ การปฏิรูปอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพต่างประเทศ : สาธารณรัฐฝรั่งเศส
๏ การปฏิรูปอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพต่างประเทศ : สาธารณรัฐสิงคโปร์
๏ ระบบมาตราฐานคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ
๏ A tracer Study to Aid RE-evaluation of the Second Vocational Education Project of Asian Development Bank
ผลงานวิชาการอื่นๆ
๏ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสโปรแกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขององค์การยูเนสโห ณ กรุงนิวเดลฮี ได้ปฏิบัติงาน และมีผลงานดีเด่น
๏ จัดตั้ง UNESCO Chair ด้านเทคโนโลยีพลังงาน ให้ความร่วมมือ ทางวิชาการ แก่มหาวิทยาลัยต่างๆในภุมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้านประหยัดพลังงาน และเผยแพร่สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น จัดทำหลักสูตร และชุดศึกษา (Learning Packages) ระดับปริญญาโท
๏ จัดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนจัดทำสวนเทคโนโลยีให้กับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดสวนเทคโนโลยีใหม่ขึ้นในประเทศมาเลเซีย
อิหร่าน ประเทศไทย
๏ จัดให้มีการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในระดับปริญญาโทมหาวิทยาลัยประเทศต่างๆใน 3 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยสร้างเป็นชุดศึกษา
(Learning Packages) ที่ทันสมัย การศึกษาด้วยกลวิธีคอมพิวเตอร์
๏ จัดทำ Software ที่ใช้แก้ปัญหาวิบัติภัยทางธรรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว ไต้ฝุ่น และน้ำท่วม
๏ จัดทำโครงการฝึกอบรมด้วยกระบวนมาตรฐานวัดระยะทาง การบริหารศูนย์สื่อและห้องสมุดความก้าวหน้าของระบบการศึกษาช่างเทคนิคและบทบาท
ส่วนเทคโนโลยี ต่อนักอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ผลงานทางวิชาการในประเทศไทย
๏ เป็นวิทยากรระดับสูงในการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้แก่ การประชุมสัมมนาทางวิชาการ
The Fourth IVETA International Conference เรื่อง “The Emerging Challenges in Vocational Education and Human
Resources Development”วันที่ 26-30 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพ ฯ และ ชลบุรี
๏ เป็นวิทยากรให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในโปรแกรมการศึกษาปริญญาเอกด้านครุศาสตร์อุสาหกรรม และในการประชุมวิชาการ
ภายในสถาบันในโอกาสต่าง ๆ
ด้านบริการสังคม
๏ ผู้นำในการควบคุมและดำเนินการสร้างหรือติดตั้งงานวิศวกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุโมงสร้างผันน้ำที่เขื่อนสิริธร
๏ งานทำไซฟอน โดยการดันท่อขนาด 2.5 เมตร ซึ่งเป็นโครงการปรับปรุงการประปาของการประปานครหลวง การต่อเรือขุด เป็นต้น
๏ ร่วมจัดตั้งดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิมงกุฎสภา(สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) ซึ่งจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เร่งรัด และ ขยายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลักสำคัญด้วยกลวิธีทำงานแบบสถาบันนอกราชการและให้
ประโยชน์แก่งานของสถาบัน ฯ
๏ ร่วมจัดเป็นระบบช่างฝึกหัดโดยเป็นตัวเชื่อมระหว่างระบบราชการกับอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างยื่งในการพัฒนาช่างเทคนิคเพื่ออุสาหกรรม
โครงการระบบช่างฝึกหัดนี้สามารถขยายงานได้ด้วยระบบนอกราชการ
๏ จัดทำโครงการสวนเทคโนโลยีเพื่อพัฒนานักอุตสาหรกกรมขนาดย่อมให้เกิดขึ้นใหม่โดยมีเป้าหมายแน่นอน
กรรมการวิชาชีพวิศวกรรม
๏ ประธานคณะอนุกรรมการแรงงานกำหนดมาตรฐาน และจัดสอบฝีมือแรงงาน ช่างเชื่อมโลหะในคณะกรรมการพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ
๏ กรรมการในคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม ในสาขาวิศกรรมอุตสาหกรรมอุตรสาหการ
๏ กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและเทียบความรู้
๏ วุฒิสมาชิกของวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย
๏ ศาสตราจารย์ประจำ รับผิดชอบหลักสูตรและการเทียบมาตราฐานความรู้สาขาวิศกรรมอุตสาหการ
ด้านผู้นำ/บริหาร
๏ ผู้บุกเบิก/ผู้ริเริ่ม/ผู้ก่อนตั้งตั้งแต่เป็นโรงเรียน/วิทยาลัย/สถาบันระดับมหาวิทยาลัย
๏ ผู้บุกเบิกวางรากฐานการศึกษาแบบเยอร์มันซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ท่านได้ชื่อว่า
“บิดาของไทย-เยอร์มัน” และ “บิดาช่างสมัยใหม่ของไทย”
๏ ริเริ่มพัฒนาช่างที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จริงที่ทำงานผลิตได้ โดยการนำเอาปรัชญาและวิธีการของเยอร์มัน มาพัฒนาให้เหมาะสม
กับสถานการณ์และสภาวะสิ่งแวดล้อมของประเทศผู้พื้นฐานวางเสาเข็มที่มั่นคงแข็งแรงกับภาคอุตสาหกรรมเป็นการเริ่มต้นช้างฝีมือชุดใหม่ที่ทันสมัย
ของประเทศไทย
๏ ริเริ่มพัฒนาช่างเทคนิคที่ทำงานและควบคุมได้จริงที่เรียกว่า INDUSTRIAL TECHICIAN
๏ นำเอาระบบ DUAL SYSTEM คือระบบทวิภาคีหรือโรงงาน-โรงเรียน มาใช้แต่เนื่องจากขณะนั้นอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังไม่พัฒนา
โรงงานและสถานประกอบการยังมีจำนวนไม่มากซึ่งต้องใช้วิธีรับงานผลิตรับงานการค้ามาทำ
๏ ริเริ่มผลิตวิศวกรปฏิบัติที่เรียกว่า PRACTICAL ORIENTED ENGINEER
๏ ริเริ่มพัฒนาครูช่าง ปม.และปริญญาตรีเป็นครั้งแรกของประเทศไทยโดยใช้ปรัชญาที่ว่าผู้จบต้องมีทั้งความรู้และทักษะที่สามารถทำงานได้จริง
๏ ริเริ่มนำปรัชญาการสอนช่างอุตสาหกรรมและนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ในการพัฒนาการศึกษาช่างวิศวกรรมให้สามารถทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
๏ ร่วมก่อตั้งแผนกเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นอาจารย์สอนพิเศษวิชาวิศวกรรมเคมี 16 ปี
๏ ริเริ่มการศึกษาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเฉพาะสาขาเช่นเทคโนโลยีการผลิตเทคโนโลยี ขนถ่ายวัสดุและครุศาตร์อุตสาหกรรมสาขาต่างๆ
๏ ผู้ก่อตั้งโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติเพื่อการฝึกงานทางด้านเทคนิค(IAESTE) พ.ศ. 2521
๏ ริเริ่มให้มีงานคำนวณออกแบบและผลิตเครื่องจักร เครื่องมือกล เช่น เครื่องกลึง เครื่องไส เครื่องเจาะ เครื่องรีดโลหะ ออกจำหน่ายตามหน่วยงานต่างๆ
๏ แต่ง แปล และเรียบเรียง ตำราเรียน ระดับช่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีวิศวกรรมซึ่งถือ เป็นตำราต้นแบบ
๏ ส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตตำราเรียนโดยจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อจัดพิมพ์ตำราเรียนขึ้นใช้เอง
และจัดจำหน่ายแก่หน่วยงานช่างอุตสาหกรรมและสถานศึกษาอื่นๆอีกด้วย
ความสามารถด้านต่างประเทศ
๏ ประธานโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงานระหว่างชาติ(IAESTE)
๏ ผู้ประสานงานขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศกับรัฐบาลญี่ปุ่นกองทุนพิเศษแห่งสหประชาชาติ UNDP UNESCO และรัฐบาลสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมันนีเพื่อพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตธนบุรีและวิทยาเขตพระนครเหนือ
เป็นส่วนรวมอยู่ตลอดเวลา
๏ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักศึกษาและบุคคลอันดับสูงในวงการการศึกษาของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า บังคลาเทศ เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน
อัฟกานิสถาน อิหร่าน มองโกเลีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นใหม่ๆกันอยู่ตลอดเวลา
๏ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับองค์การ UNESCO องค์การ ILO และยังคงความสัมพันธ์ในความร่วมมือกันเป็นอย่างดีตลอดมา
รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ
๏ โล่ประกาศเชิดชูเกียรติ และสดุดีเกียรติคุณ อธิการบดี พ.ศ.2502-2529 โดยนางรมณีย์ ใจจงกิจ รับมอบแทน
ศาสตราจารย์ดร.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ มอบโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2547