ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ

ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ

พ.ศ.2514-2521

อธิการบดีท่านแรกของสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้ง 3 วิทยาเขต

 
 
 
 
 
 

ประวัติส่วนตัว

วัน/เดือน/ปีเกิด วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2462
 
 
 
 
 
 

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี


  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เครื่องกล และสาขาวิชาไฟฟ้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสอบทุนเล่าเรียนรัฐบาลไปศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ณ สหรัฐอเมริกา ทุนกระทรวงศึกษาธิการ
ปริญญาโท
  วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล มหาวิทยาลัยเปอร์ดู สหรัฐอเมริกา
ปริญญากิตติมศักดิ์   วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
 
 
 
 
 
 

ประวัติการรับราชการ

 
พ.ศ. 2487   เริ่มรับราชการอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2497   อาจารย์เอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2502   ย้ายไปรักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดีกรมอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2504   อาจารย์ชั้นพิเศษ
พ.ศ. 2505-2517   อธิบดีกรมอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2514-2521   อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พ.ศ. 2515   ศาสตราจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พ.ศ. 2516   สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
 
 
 
 
 
 

ด้านวิชาการและวิเคราะห์

 

   ๏ ผู้ช่วยเขียนสารานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ในข้อความเกี่ยวกับเครื่องกลและงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
   ๏ เขียนตำรา และบทความต่าง ๆ ลงในวารสาร และสิ่งตีพิมพ์หลายเรื่อง
   ๏ วิศวกรที่ปรึกษาในการวิเคราะห์กรรมวิธีแบบแผน
   ๏ วิศวกรควบคุมโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยจากขยะแห่งแรกของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
   ๏ ผู้บุกเบิกงานด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย
   ๏ เป็นผู้บุกเบิกการอาชีวศึกษา ให้รุดหน้าทันสมัย จนได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งการอาชีวศึกษา สมัยใหม่ของไทย”
    มีการพัฒนาการอาชีวะศึกษากันอย่างจริงจังและรวดเร็ว โดยอาศัยทั้งเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกู้

 
 
 
 
 
 
 

ความสามารถด้านต่างประเทศ

 

   ๏การจัดการศึกษาเป็นไปตามความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของสัญญาและข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือ วิทยาเขตธนบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก
    โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)แห่ง UNESCO และรัฐบาลออสเตรเลียวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
    ญี่ปุ่น วิทยาเขตพระนครเหนือ ได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณรัฐเยอรมัน
   ๏ โครงการช่วยเหลือตามแผนการโคลัมโบให้ทุนการศึกษา ดูงาน แก่ครูปฏิบัติการและอาจารย์ทุกปี
   ๏ รัฐบาลสหราชอาณาจักร ให้ความช่วยเหลือด้านผู้เชี่ยวชาญทางด้านอังกฤษเทคนิคและตำราเรียน โดยผ่าน บริติช เคาน์ซิล(British Council)ในการจัด
    สัมมนาทางวิชาการและอบรมอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 
 
 
 
 
 
 

กรรมการวิชาชีพวิศวกรรม

 

   ๏ ประธานกรรมการ ทดสอบฝีมือแรงงานแห่งชาติ
   ๏ กรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ
   ๏ กรรมการด้านเทคนิค ในการจัดการตั้งท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
   ๏ อุปนายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
   ๏ พนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุม การประกอบอาชีพวิศวกรรม
   ๏ ที่ปรึกษาทางวิชาการ ด้านวิศวกรรม ของหน่วยงานราชการหลายแห่ง

 
 
 
 
 
 
 

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

 

   ๏ ประกาศนียบัตรและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ จากสมาคมแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้ประกอบอาชีพทางสาขาวิศวกรรมเครื่องกล