ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ

ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ

พ.ศ.2544-2550

 
 
 
 
 
 

ประวัติส่วนตัว

วัน/เดือน/ปีเกิด วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2491
 
 
 
 
 
 

ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2511

 
  ประกาศนียบัตรวิชาชีพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาช่างท่อและประสาน
(วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ)
พ.ศ.2517






 
  ปริญญาตรี B.Ss. in Advanced Technology
(American Technological University , Texas ,USA)
สาขาหลัก:เทคโนโลยีเครื่องทำความเย็นและการปรับอากาศ
สาขารอง:การจัดการอุตสาหกรรม
Major:Air Conditioning and Refrigeration Technology
Minor:Industrial Management
พ.ศ.2520


 
  ปริญญาโท Southwest Texas State University , Texas , USA สาขา การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ประเทศสหรัฐอเมริกาMajor : Management of Vocational and Technical Education
พ.ศ.2525





 
  ปริญญาเอก* มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Oklahoma State University,Oklahoma, USA Major : Human Resources Development
*โดยได้รับทุนการศึกษาของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยแห่งโอคลาโฮมาประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นกรณีพิเศษ
วุฒิบัตร
  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2540 วปอ. รุ่น 40 (วปรอ. 4010)
 
 
 
 
 
 
 

ประวัติการทำงาน

 
พ.ศ. 2506-2510   เริ่มรับราชการครูตรี ประจำแผนกช่างท่อและประสานวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ
พ.ศ. 2512   ช่างเทคนิค(เครื่องปรับอากาศไดกิ้น)บริษัท สยามกลการ จำกัด
พ.ศ. 2515-2517
  หัวหน้ากลุ่มงานบำรุงรักษาเครื่องจักรกล Production Process Department
(โรงงานผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป)บริษัท แพลนเทชั่น ฟู้ดส์ จำกัด(ประเทศสหรัฐอเมริกา)
พ.ศ. 2518   วิศวกรเครื่องทำความเย็น(แคร์เรีย)ห้าง บี. กริมแอนด์โก
พ.ศ. 2521   รับราชการตำแหน่งอาจารย์ ระดับ 4 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. 2526   ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. 2528-2531



  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ไปปฏิบัติงาน ณ องค์การระหว่างประเทศ(องค์การโคลัมโบ มีสมาชิก 18 ประเทศ)
ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้าน เทคนิคศึกษา ให้คำปรึกษาด้านการบริหารด้านเทคนิคและฝึกอบรมและการวิจัย
ด้านอาชีวศึกษาและอุตสาหกรรมแก่ประเทศสมาชิกโดยไม่ต้องออกจากราชการ โดยให้ไปประจำการ
ณ ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลา 1 ½ ปี และประเทศฟิลิปปินส์ 1 ½ ปี รวม 3 ปี ตามคำขอขององค์การโคลัมโบ
จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2531
พ.ศ.2531
  บรรจุกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และดำรงตำแหน่ง
คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ.2533   ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
พ.ศ.2535-2537

  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส)
27 พ.ค.2537   ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
20 ก.ค.2538-19 ก.ค.2541   ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาและศาสตราจารย์
พ.ศ.2540
  ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพลังงาน
และสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยป้องกันอาณาจักร ปี พ.ศ. 2540(ว.ป.อ. รุ่น 2540)
20 ก.ค.2541-19 ก.ค.2544   ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และศาสตราจารย์
19 ก.ค.2557   ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(วาระที่ 1)
22 ต.ค.2550 - ปัจจุบัน   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
20 ก.ค.2547-19 ก.ค. 2550   ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(วาระที่ 2)
20 ก.ค.2550-10 ก.ย.2551   ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานวิชาการและกิจการต่างประเทศสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
25 มี.ค.2551-30 มิ.ย.2553



   
  ประธานบอร์ด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง
ถือหุ้น 100% มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายด้านการบริหารองค์กรและการบริหารธุรกิจการสื่อสารและ
โทรคมนาคมพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ และเพื่อให้บริการประชาชน
โดยประสานงานกับ กสทช.ในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมให้กับประชาชน
(Universal Service Obligation : USO)
13 พ.ย.2551-14 พ.ย.2553   ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(วาระที่ 3)
พ.ศ.2554-พ.ศ.2556   กรรมการบริหารการไฟฟ้านครหลวง
13 พ.ย.2555-14 พ.ย.2559   ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(วาระที่ 4)
15 พ.ย.2559-14 พ.ย.2560   ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ.2559-ปัจจุบัน
  ที่ปรึกษาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
พ.ศ.2560-ปัจจุบัน   นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
 
 
 
 
 
 

ผลงานที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ

 
พ.ศ.2531


  ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “บุคคลผู้ทรงคุณค่า” จากการปฏิบัติงานผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีในองค์การโคลัมโบ(Colombo Plan Staff College for Technician Education:CPSC)ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ
มีสมาชิก 18 ประเทศโดยประจำการ ณ ประเทศสิงคโปร์และประเทศฟิลิปปินส์ เวลา 3 ปี(พ.ศ.๒๕๓๑-๒๕๓๔)
ตามมติของคณะรัฐมนตรี
29 เม.ย.2545                
  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับประกาศเกียรติคุณรางวัล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
(Prime Minister’s Award)รางวัลส่วนราชการดีเด่นระดับกรม ในด้านการบริหารและจัดการเพื่อพัฒนาวิชาการ
ประจำปี พ.ศ.2544
5 มิ.ย.2546
  ได้รับคัดเลือกให้เป็น “ผู้บริหารข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2544-2545”
สายอธิการบดี เหรียญสดุดีเกียรติคุณ“ครุฑทองคำ” จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
8 ก.ค.2546

  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลฝรั่งเศส
“Officer in the French Ordre National Du Mérite” by declare of thevPresident of the Republic of France
dated 8th of July 2003
พ.ศ.2547   ได้รับเหรียญรางวัลเกียรติยศ Honor Society for International Scholars จาก “PHI BETA DELTA” ประเทศสหรัฐอเมริกา
14 ส.ค.2548
  ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “บุคคลแห่งปีศรีอาชีวะ”ประจำปี พ.ศ. 2548
จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2550
  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้รับรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรางวัลชนะเลิศ
“หน่วยงานดีเด่นของชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี พ.ศ. 2550”
พ.ศ.2550
  ได้รับโล่เกียรติยศ“ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2550” ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมา
(2007-Distinguished Alumni Award of Oklahoma State University, USA.)
พ.ศ.2552
  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(ชั้นสูง)ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลฝรั่งเศส
“Officer de la Legion’ Honneur.” 26 August 2009
1 เม.ย. 2555   ได้รับเข็ม “เสมาคุณูปการ”และประกาศเกียรติคุณผู้ทำประโยชน์ให้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ
2 ต.ค.2555
  ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์(ชั้นสูง)ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลเยอรมัน“
Cross of the Order of Merit of the Federal Republic of Germany” จากรัฐบาลเยอรมัน
 
 
 
 
 
 
 

ตำราและหนังสือภาษาไทย

 
พ.ศ. 2526   พื้นฐานบริหารงานอุตสาหกรรม (งานเขียนร่วม)
พ.ศ. 2527   พื้นฐานเครื่องทำความเย็น (งานเขียนร่วม)
พ.ศ. 2527   พื้นฐานการเป็นผู้นำ (งานเขียนร่วม)
พ.ศ. 2529   เทคนิคงานซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
พ.ศ. 2534   จิตวิทยาอุตสาหกรรมประยุกต์
พ.ศ. 2535   การฝึกอบรมบุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2536   ความปลอดภัยในโรงงานช่างอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2539   การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2548   การจัดองค์การและการบริหารอุตสาหกรรม (งานเขียนร่วม)
พ.ศ. 2549   การแก้ปัญหาการบริหารงานอุตสาหกรรมโดยใช้ความคิดเชิงระบบ (งานเขียนร่วม)
 
 
 
 
 
 
 

บทความเชิงวิชาการภาษาอังกฤษ(งานเขียนคนเดียว)เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการนานาชาติ

 

   ๏ Technicians: Who They Are and What they Do (1986)
   ๏ Using Instructional Material in Technician Education (1986)
   ๏ Basic Guideline for Material in Technician Education (1986)
   ๏ Guideline for Developing and In-Service Training Program for Vocational and Technical Education (1986)
   ๏ Developing a Lesson Plan for Vocational and Technical Subjects (1986)
   ๏ Strategies for Training Technical Teachers in Environmental Education (1986)
   ๏ Accreditation and Certification in Technician Education System (1987)
   ๏ Guideline for Developing Leadership Training Program for Women Technical Teachers (1987)
   ๏ Characteristics and Curriculum in Technician Education (1987)
   ๏ Methods of Teaching Technical Subjects (1987)
   ๏ Laboratory and Workshop Planning (1987)
   ๏ Conditions of Learning (1987)
   ๏ Writing Instructional Objectives in Industrial Training (1987)
   ๏ Understanding Task analysis in Vocational and Technical Education (1988)
   ๏ Guideline for Developing Leadership Training Program (1988)
   ๏ Principle of Constructing Achievement Tests in Modular Instruction (1988)
   ๏ Training Technical Teachers (1993)

 
 
 
 
 
 
 

ผลงานวิจัยเสนอในที่ประชุมวิชาการระหว่างประเทศ

 

   ๏ Boontasopon, Teravuti. A Study on Work Status and Training Needs as Perceived by Women Technical Teachers, Colombo Plan
    Staff College for Technician Education 1989. เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การโคลัมโบและได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ในที่ประชุม
    วิชาการ ระหว่างประเทศ 2 ครั้ง (1989&1992) และใช้เป็นงานวิจัยอ้างอิงในที่ประชุมงานวิจัยระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
    ประจำปี ๒๕๓๔
   ๏ Boontasopon, Teravuti. ; Robert Mc Caig and C.R.K. Sastri. UNESCO/UNEP Guidelines for the Incorporation of Environmental
    Education into Curriculum and Teacher Training in Technical and Vocational Education , Paris, 1988
   ๏ Boontasopon, Teravuti. ; Robert Mc Caig and C.R.K. Sastri. UNESCO/UNEP Strategies for the Incorporation of Environmental
    Education intro Curriculum and Teacher Training in Industrial Schools, Paris 1988
   ๏ Boontasopon, Teravuti. UNESCO/UNEP Strategies for the Incorporation of Environmental Education into Curriculum and Teacher
    Training in Agricultural School. Paris 1988 (เขียนร่วมกับ Dr. Robert McCaig, Director of CPSC (1988)
    ใช้อบรม , สัมมนาประเทศสมาชิกขององค์กรยูเนสโก)
   ๏ Boontasopon, Teravuti , UNESCO/UNEP Final Report (1986) Consultation Meeting on the Incorporation of Environmental
    Education into Technical and Vocational Education, Paris 1986 (เขียนร่วมกับ DR.Robert McCaig, and professor C.R.K Sastri)

 

 
 
 
 
 
 

งานวิจัยด้านการศึกษาและอุตสาหกรรมที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ
และที่ประชุมวิชาการ

 
พ.ศ. 2540
  งานวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8(พ.ศ.2540-2544) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2544
  งานวิจัย เรื่อง การประเมินคุณภาพห้องสมุด มหาวิทยาลัยของรัฐ(หัวหน้าโครงการวิจัย)ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน
พ.ศ. 2547
  งานวิจัย เรื่อง นโยบายเส้นทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี(นักวิจัยร่วม)
ทุนสนับสนุนจาก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2548
  งานวิจัย เรื่อง ความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์(หัวหน้าโครงการวิจัย)
ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
พ.ศ. 2550
  งานวิจัย เรื่อง การเสริมสร้างความแข็งแรงและยกระดับมาตรฐานของวิชาชีพด้านบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
การแข่งขันในตลาดโลก(หัวหน้าโครงการวิจัย)ทุนสนับสนุนจากสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. 2550
  งานวิจัย เรื่อง การศึกษาเพื่อวางแผนกลยุทธ์พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
(หัวหน้าโครงการวิจัย)ทุนสนับสนุนจากสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. 2551
  งานวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน
ให้ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของประเทศ
พ.ศ. 2553
  งานวิจัย เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรม
ฐานความรู้(หัวหน้าโครงการวิจัย)ทุนสนับสนุนจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2553
  งานวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาประชากรของประเทศไทยเพื่อเป็น ศูนย์กลางพัฒนาประชากร
ด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศของประชาคมอาเซียน(หัวหน้าโครงการวิจัย)
พ.ศ. 2556
  งานวิจัย เรื่อง การศึกษาสถานการณ์อาชีวศึกษาและจัดทำ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาของประเทศ
(ประธานที่ปรึกษาโครงการวิจัย)ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
 
 
 
 
 
 
 

หัวหน้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา New Project ของหน่วยงาน GTZ เยอรมันประจำกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน

 

   ๏ หัวหน้าโครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ของสำนักงาน GTZ ประเทศเยอรมนีประจำประเทศไทยการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาอุตสาหกรรม
    พัดลมและเครื่องเป่าอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2538(สัญญาว่าจ้าง Contact No. 04/1995)
   ๏ หัวหน้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของสำนักงาน GTZ ประเทศเยอรมันประจำประเทศไทยการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจดทะเบียนบริษัทที่ปรึกษา
    ด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย พ.ศ. 2839(สัญญาว่าจ้าง Contract No. 06/1995)

 
 
 
 
 
 
 

งานสอนปัจจุบัน

 

   ๏ สอนนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาคการศึกษาละ 6 หน่วยกิต
    และทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก

 
 
 
 
 
 
 

ประสบการณ์ด้านผู้นำและผู้บริหารองค์กรในประเทศและต่างประเทศ

 

   ๏ ประธานกรรมการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(พ.ศ. 2527)
   ๏ ผู้เชี่ยวชาญรักษาการผู้อำนวยการองค์การโคลัมโบ (Colombo Plan Staff College for Technician Edition) พ.ศ. 2529-2531 บริหารงาน
    บุคคล การเงิน และวิชาการ ในกรณีที่ผู้อำนวยการติดภารกิจไปต่างประเทศ (องค์การโคลัมโบเป็นองค์การระหว่างประเทศมีสมาชิกรวม 18 ประเทศ)
   ๏ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม(พ.ศ. 2531-2535)
   ๏ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (พ.ศ. 2535-2537)
   ๏ รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส (พ.ศ. 2535-2537)
   ๏ ประธานกรรมการร่างหลักสูตรปริญญาเอก สาขา “การวิจัยพัฒนาหลักสูตร” ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (พ.ศ. 2537)
   ๏ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา(20 กรกฎาคม 2538 - 19 กรกฎาคม 2541)
   ๏ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร (20 กรกฎาคม 2541 - 19 กรกฎาคม 2544)
   ๏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(20 กรกฎาคม 2544 - 19 กรกฎาคม 2550
    และ 13 พฤศจิกายน 2551 - 14 พฤศจิกายน 2559)
   ๏ ประธานกรรมการบริหารศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2544
   ๏ ประธานกรรมการร่างหลักสูตรปริญญาเอกสาขา “การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา”(พ.ศ 2537)
   ๏ หัวหน้าโครงการฝึกอบรมด้าน Installation, Operation and Maintenance of Water Supply Equipment ให้กับ ESCAP,NATIONS
    (พ.ศ. 2538)
   ๏ ประธานจัดตั้งศูนย์เครื่องมือวัดและควบคุม ศูนย์ระบบอัตโนมัติ และศูนย์อุลต้าโซนิค ของสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมร่วมกับภาคเอกชน
    โดยขอบริจาคเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาจากบริษัทเยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เป็นมูลค่าประมาณ 8,500,000 บาท
    (แปดล้านห้าแสนบาทถ้วน)(พ.ศ. 2535 - 2537)
   ๏ ประธานจัดทำโครงการขอความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การศึกษาและทุนการศึกษาและทำหน้าที่ประธานก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส
    เพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดินโดยได้รับบริจาคเครื่องมือและเครื่องจักร พร้อมทั้งทุนการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาลฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง

 
 
 
 
 
 
 

ประสบการณ์ต่างประเทศและด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

 

   ๏ ผู้เชี่ยวชาญในองค์การระหว่างประเทศด้านเทคนิคศึกษาและรักษาการผู้อำนวยการองค์การโคลัมโบ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ
    (Colombo Plan Staff College) มีประเทศสมาชิก 18 ประเทศ (พ.ศ. 2528-2531) โดยประจำการอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์และประเทศฟิลิปปินส์
    เป็นเวลา 3 ปี ทำหน้าที่เป็นวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและวิจัยให้กับผู้บริหารคณะครูอาชีวศึกษาของประเทศสมาชิก
   ๏ ได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้ประสานงานโครงการฝึกอบรมครูให้กับ Oklahoma State University USA. ตามโครงการเงินกู้ของ World Bank
    (พ.ศ. 2524-2525)
   ๏ กรรมการวิชาการประจำองค์การระหว่างประเทศ (องค์การโคลัมโบ) (พ.ศ. 2528-2531)
   ๏ ศึกษา/ดูงาน ด้านการศึกษาและอุตสาหกรรม ณ ประเทศ อังกฤษ อเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน อิสราเอล เดนมาร์ค
    สวีเดน นอร์เวย์ สเปน จีน ฯลฯ
   ๏ ประธานโครงการการขอความช่วยเหลือด้านเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์การศึกษาและทุนการฝึกอบรมจากประเทศฝรั่งเศสเพื่อประหยัดงบประมาณ
    แผ่นดินโดยปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท โดยอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งณ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส สำหรับ
    ฝึกนักศึกษาของสถาบันซึ่งเป็นโครงการแรกที่รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีแก่มหาวิทยาลัยในเอเชียและแปซิฟิก
    เป็นเวลามากกว่า๒๐ปี(พ.ศ. 2533 -ปัจจุบัน)